เกี่ยวกับภาควิชา

ความเป็นมา

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย ในภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 และในปี พ.ศ. 2518 ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ด้วยความช่วยเหลือด้านครุภัณฑ์และทุนการศึกษาฝึกอบรมจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ 

ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับอนุมัติให้แยกออกมาจัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์

ในปี พ.ศ. 2534 ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยความเห็นชอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนิสิตและประชาชนผู้สนใจในเทคโนโลยีทางภาพ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ร่วมมือกับองค์กรส่วนราชการและเอกชน สมาคมต่าง ๆ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สถาบันเกอเธ่ (Goethe-Institut) และ บริติช เคานซิล (British Council) เพื่อจัดกิจกรรมการแสดงภาพ การฝึกอบรม การประกวดภาพ การอนุรักษ์ภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโลกทัศน์ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศและส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม

ในปี พ.ศ. 2537 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้คณะวิทยาศาสตร์ดูแลหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรสหภาควิชา โดยความร่วมมือจาก 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาเคมีเทคนิค ภาควิชาวัสดุศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ปัจจุบันหลักสูตรนี้เปิดสอนถึงระดับดุษฎีบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2539 ภาควิชาฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท แคนนอน (โตเกียว) จำกัด จัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทางภาพ (จุฬา-แคนนอน) หรือ Canon Exploratorium พร้อมทั้งทุนวิจัยและครุภัณฑ์ รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญของบริษัทและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นมาบรรยาย อบรม ให้กับคณาจารย์และนิสิตของภาควิชาฯ 

ในปี พ.ศ. 2539 ภาควิชาฯ เปิดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีทางภาพในระดับปริญญาโท 

ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาฯ ได้ร่วมกับภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาควิชาเคมีเทคนิค เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ ซึ่งเป็นหลักสูตรสหภาควิชา เพื่อผลิตบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ให้กับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้กระดาษเป็นวัสดุในการพิมพ์

ในปี พ.ศ. 2550 ภาควิชาฯ เปิดหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึงงานวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีทางภาพในระดับปริญญาเอก 

ในปี พ.ศ. 2557 ภาควิชาฯ ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมชื่อ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ เป็น ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์

ในปี พ.ศ. 2562 ภาควิชาฯ ได้ร่วมกับภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร ภาควิชาเคมี ภาควิชาเคมีเทคนิค และภาควิชาวัสดุศาสตร์เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่ออุตสาหกรรม เพื่อผลิตบุคคลากรให้กับอุตสาหกรรมโดยเน้นโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรมผ่านการร่วมกำกับวิทยานิพนธ์ภายใต้เงื่อนไขอุตสาหกรรมและการร่วมมือเพื่อทำการศึกษาวิจัยของทั้งบุคคลากรและคณาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันภาควิชาฯ มีหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 7 หลักสูตร คือ

  1. ปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ 
  2. ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ 
  3. ปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพ
  4. ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ (หลักสูตรสหภาควิชา)
  5. ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (หลักสูตรสหภาควิชา)
  6. ปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (หลักสูตรสหภาควิชา)
  7. ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่ออุตสาหกรรม

พันธกิจและวิสัยทัศน์

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้งในศาสตร์ของเทคโนโลยีทางภาพ วัสดุภาพ วัสดุพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ และเทคโนโลยีสื่อ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีศักยภาพในการค้นคว้าและติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล เป็นผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีพ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการสื่อสาร การจัดการ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

ห้องจัดแสดงเทคโนโลยีจาก Canon

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

การสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้น โดยพระราช ทานนามว่า “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการ พลเรือน” โดยรับสมัครนักเรียนที่สอบผ่าน “ประโยคนักเรียน” มาแล้ว เข้าศึกษา “ประโยควิชา” ต่อ เมื่อเรียนจบ “ประโยควิชา” แล้วจึง จะได้รับประกาศนียบัตรของ โรงเรียน แล้วต้องออกฝึกราชการตามกระทรวงต่างๆ เพื่อสอบ “ประโยคฝึกหัด” ในขั้นสุดท้ายจึงจะถือว่านักเรียนผู้นั้นสำเร็จวิชาจากสถานศึกษาข้าราชการ พลเรือน โดยสมบูรณ์ โรงเรียนดังกล่าวนี้ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาจึงทรงพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้นักเรียนในโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเฝ้าทูล ละออง ธุลีพระบาทโดยใกล้ชิดและเข้าที่สมาคมในราชการให้มีความคุ้นเคยอีกด้วย

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้น โดยพระราช ทานนามว่า “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการ พลเรือน” โดยรับสมัครนักเรียนที่สอบผ่าน “ประโยคนักเรียน” มาแล้ว เข้าศึกษา “ประโยควิชา” ต่อ เมื่อเรียนจบ “ประโยควิชา” แล้วจึง จะได้รับประกาศนียบัตรของ โรงเรียน แล้วต้องออกฝึกราชการตามกระทรวงต่างๆ เพื่อสอบ “ประโยคฝึกหัด” ในขั้นสุดท้ายจึงจะถือว่านักเรียนผู้นั้นสำเร็จวิชาจากสถานศึกษาข้าราชการ พลเรือน โดยสมบูรณ์ โรงเรียนดังกล่าวนี้ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาจึงทรงพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้นักเรียนในโรงเรียนนี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเฝ้าทูล ละออง ธุลีพระบาทโดยใกล้ชิดและเข้าที่สมาคมในราชการให้มีความคุ้นเคยอีกด้วย

ติดต่อภาควิชา

ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์
0 2218 5581-2, 0 2218 5575-6

โทรสาร
0 2255 3021, 0 2254 6530