กลุ่มวิจัยเยื่อและกระดาษ
กลุ่มวิจัยเยื่อและกระดาษ

วิจัยเกี่ยวกับ

  • การผลิตเยื่อ กระดาษ และคอมพอสิตจากของเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวและอุตสาหกรรมเกษตร
  • การรีไซเคิลกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากชีวมวลพืชผ่านกระบวนการผลิตเยื่อ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้งและภาระในการกำจัด และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้ง
  2. เพื่อพัฒนาวัตถุดิบใหม่ๆ ที่มีคุณค่าสำหรับการผลิตเยื่อ กระดาษ บรรจุภัณฑ์ และคอมพอสิต
  3. เพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์กระดาษที่ผ่านการแปรรูปและใช้งานในรูปแบบต่างๆ
  4. เพื่อปรับปรุงสมบัติของเยื่อรีไซเคิล
  5. เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกระดาษรีไซเคิล
  6. เพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ๆ จากกระดาษใช้แล้ว
  7. เพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ที่มีคุณค่าจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ในขั้นตอนการผลิตเยื่อ

งานวิจัยเด่น

  • การผลิตเยื่อและกระดาษจากต้นข้าวโพด นุ่น ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หญ้าแฝก ปาล์มน้ำมัน ต้นกล้วย กาบมะพร้าว ฯลฯ
  • การผลิตคอมพอสิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น คอมพอสิตพอลิโอเลฟิน-ไม้ยางพารา คอมพอสิตพอลิโอเลฟิน-เส้นใยต้นข้าวโพด คอมพอสิตยางธรรมชาติ-เส้นใยปาล์มน้ำมัน
  • ความสามารถในการรีไซเคิลของถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์
  • ผลของกระบวนการหลังพิมพ์ต่อการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษแข็ง
  • การเพิ่มความแข็งแรงให้กับเยื่อรีไซเคิลด้วยวิธีต่าง ๆ
  • การกำจัดหมึกออกจากกระดาษ
  • การผลิตไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากกระดาษใช้แล้ว
  • การผลิตฟิล์มดูดกลืนยูวีจากลิกโนซัลโฟเนตที่สังเคราะห์จากลิกนินในน้ำดำของการต้มเยื่อ

อาจารย์ผู้วิจัย

อาจารย์ ดร. กุนทินี สุวรรณกิจ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร ชัยอารีย์กิจ, อาจารย์ ดร. กมลวรรณ ภาคาผล, ร่วมกับภาควิชาพฤกษศาสตร์

งานวิจัยในกลุ่มวิจัยเยื่อและกระดาษ

ค้นหา

(2563)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาค่าสีที่ได้จากการพิมพ์ระบบออฟเซตบนกระดาษ3ชนิด
รศ.ดร. พิมพ์สุดา เจริญพาณิชย์, รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญดา เกตุเมฆ
(2563)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาค่าสีที่ได้จากการพิมพ์ระบบออฟเซตบนกระดาษ3ชนิด
รศ.ดร. พิมพ์สุดา เจริญพาณิชย์, รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญดา เกตุเมฆ
(2563)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาค่าสีที่ได้จากการพิมพ์ระบบออฟเซตบนกระดาษ3ชนิด
รศ.ดร. พิมพ์สุดา เจริญพาณิชย์, รองศาสตราจารย์ ดร. พิชญดา เกตุเมฆ